วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555


ประวัติ C100 ครบรอบ 50 ปีกับตำนาน ฮอนด้า ซูเปอร์ คัพ

i LOVE HoNDA C
Super Cub 50 th Anniversary
ครบรอบ 50 ปีกับตำนาน ฮอนด้า ซูเปอร์ คับ
รถจักรยานยนต์ ฮอนด้า ซูเปอร์ คับ ยานพาหนะสองล้อรูปลักษณ์คลาสสิคคันเล็ก ๆ คันนี้เคยสร้างปรากฏการณ์ให้กับประวัติศาสตร์รถจักรยานยนต์โลกมาแล้วด้วยการ เป็นรถคันแรกที่กำเนิดขึ้นในปี 1958 หรือเมื่อ 50 ปีที่แล้ว ด้วยรูปร่างกะทัดรัด น่ารัก ขับขี่ง่าย ประหยัดน้ำมัน และที่สำคัญทนทานอย่างเหลือเชื่อ สิ่งเหล่านี้ ได้สร้างความประทับใจให้กับผู้ใช้ทั่วโลกอย่างมากมาย ฮอนด้า ตระกูล ซูเปอร์ คับ จึงเป็นรถของมหาชนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และมียอดจำหน่ายทั่วโลกสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 50 ล้านคัน


Honda Super Cub C100
เครื่องยนต์ 4 จังหวะ 50 ซีซี ระบายความร้อนด้วยอากาศ
รถคับคันแรกเจ้าของตำนานความคลาสสิกตลอด 50 ปี ต้นแบบรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวในปัจจุบัน

Honda Super Cub 50
50 ซีซี. 4 จังหวะ ระบายความร้อนด้วยอากาศ ระบบหัวฉีด PGM-FI
รถ ซูเปอร์ คับ ที่ได้รับการยอมรับจากผู้คนทั่วโลก และยังคงมีการผลิตและจำหน่ายอย่างต่อเนื่องตลอด 50 ปี จากอดีตจนปัจจุบันใช้สะดวกกว่าเดิม ด้วยระบบหัวฉีด PGM-FI ที่สตาร์ทติดง่าย แต่ยังคงความอเนกประสงค์ ทนทาน และประหยัดน้ำมันได้เป็นอย่างดี
1958 กำเนิดรถ Honda Super Cub C100 ณ ประเทศญี่ปุ่น
1965 เริ่มนำเข้ารถจักรยานยนต์ตระกูลคับสู่ประเทศไทย
1969 เริ่มการผลิต Honda Super Cub 70 ในประเทศไทย
1986 พัฒนารูปโฉมใหม่ ในรุ่น Honda Dream
1997 เปิดตัว Honda Wave ด้วยดีไซน์ที่ทันสมัย
2002 พัฒนารถตระกูล Wave ให้มีเครื่องยนต์ 125 ซีซี
2003 ริเริ่มระบบหัวฉีดใน Honda Wave125i เป็นครั้งแรกในประเทศไทย
2004 ริเริ่มระบบเปิดไฟหน้าอัตโนมัติรุ่นแรกใน Honda Wave125
2005 พัฒนาระบบหัวฉีด PGM-FI สู่ยุค 2 ให้มีขนาดเล็กที่สุด และผลิตในประเทศไทย

" Super Cub " จุดกำเนิดของเทคโนโลยี 4 จังหวะ
Super cub ถือกำเนิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น ในปีค.ศ.1958 ตามแนวคิดการพัฒนาของโซอิชิโร ฮอนด้า
(Soichiro Honda) โดย วิวัฒนาการมากจากรุ่น “Cub Type F” ในปีค.ศ.1952
ซึ่งเป็นการนำจักรยานทั่วไปมาติดเครื่องยนต์ในลักษณะตามรูป
Cub Type F Super cub
Super cub รุ่นแรก ใช้ชื่อว่า รุ่น C100 เป็นเครื่องยนต์สูบนอน 49 ซีซี OHV 4 จังหวะ
กำลังสูงสุด 4.3 แรงม้า ซึ่งในสมัยนั้น จัดว่าตอบสนองสมรรถนะได้สูงส่งมากทีเดียว นอกจากนี้ เครื่องยนต์ 4 จังหวะ
ยังเป็นนวัตกรรมใหม่ล้ำยุคในสมัยนั้นอีกเช่นกัน
เทคโนโลยี 4 จังหวะ หัวใจสำคัญของ Super cub
ในช่วงที่พัฒนารุ่นดังกล่าว เครื่องยนต์ 2 จังหวะ ได้รับความนิยมอย่างมาก แต่ด้วยวิสัยทัศน์ของผู้พัฒนา
เช่น โซอิชิโร ฮอนด้า ได้เล็งเห็นถึงขีดจำกัดของเทคโนโลยีเครื่องยนต์ 2 จังหวะ แต่เห็นถึงประโยชน์ของ เทคโนโลยี 4 จังหวะ
ที่สามารถพัฒนาให้ก้าวล้ำต่อไปได้อีก เช่น ให้มีอัตราการประหยัดน้ำมันที่มากขึ้น หรือ ลดระดับไอเสียให้น้อยลงเป็นต้น
จึงฉีกแนวออกจากกระแสนิยม โดยใส่เทคโนโลยีเครื่องยนต์ 4 จังหวะลงไปใน Super cub
ทำให้มีทั้งคุณสมบัติด้านความทนทาน ประหยัดน้ำมัน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และคงจะด้วยเหตุนี้เอง
ที่ทำให้เครื่องยนต์ 4 จังหวะแพร่หลายเป็นอย่างมากในปัจจุบัน อีกทั้งยังทำให้ฮอนด้าซึ่งยืนหยัดพัฒนา
รถจักรยานยนต์ 4 จังหวะมาโดยตลอด ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำด้าน 4 จังหวะจนถึงปัจจุบัน
สายการผลิต Super cub
Super cub ยังนำไปสู่การพัฒนารถจักรยานยนต์รุ่นถัด ๆ ไปของฮอนด้า ในญี่ปุ่นเองมีการพัฒนาขึ้นมาเป็นรถหลาย ๆ รุ่น
จนถึงปัจจุบัน ก็มีการผลิตรุ่นที่มีรูปแบบคล้ายคลึงกัน เช่น Little cub ออกวางจำหน่าย ส่วนในประเทศไทยเอง
Super cub เป็นจุดกำเนิดของรุ่นต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียงทั้งในอดีตและปัจจุบัน เช่น ดรีม เวฟ เป็นต้น
ข้อมูลทางเทคนิค
เครื่องยนต์ 4 จังหวะ OHV ระบายความร้อนด้วยอากาศ
ปริมาตรกระบอกสูบ 49 ซีซี
กำลังสูงสุด 4.3 แรงม้า/9,500 รอบต่อนาที
แรงบิดสูงสุด 0.33 ก.ก.-ม./8,000 รอบต่อนาที
ความเร็วสูงสุด 70 ก.ม./ช.ม.
น้ำหนักรถ 55 ก.ก.
ระบบกันสะเทือนหน้า รีดดิงก์บอททอมลิงค์
ระบบกันสะเทือนหลัง สวิงอาร์ม
ราคา ณ ปี ค.ศ.1958 55,000 เยน

ฮอนด้า Super Cubรถจักรยานยนต์ในรูปแบบคับ (Cub) ซึ่งเป็นรถจักรยานยนต์ขนาดเล็ก เครื่องยนต์ 50 ซีซี มีรูปลักษณ์ภายนอกโดดเด่น
เป็นเอกลักษณ์ ด้วยโครงสร้างของตัวรถต่ำ ทำให้การก้าวขึ้นและลงจากรถได้อย่างสะดวกสบาย
รวมทั้งขับขี่ง่ายโดยไม่ต้องควบคุมคลัทช์ ด้วยการติดตั้งระบบคลัทช์อัตโนมัติแบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง
(centrifugal clutch) นอกจากนั้นยังติดตั้งบังลมพลาสติกขนาดเหมาะกับตัวรถ
เพื่อป้องกันแรงลมและการกระเด็นของสิ่งสกปรกในขณะขับขี่ รถตระกูลคับเปิดตัวเป็นครั้งแรกที่ญี่ปุ่นเมื่อปี 2501
และในเดือนสิงหาคม ที่จะถึงนี้ จะเป็นการครบรอบ 50 ปีของรถตระกูลคับ โดยปัจจุบันรถประเภทนี้มียอดจำหน่ายสะสมทั่วโลก
มากถึงกว่า 60 ล้านคัน สำหรับฮอนด้า Super Cub ในรุ่นปี 2007
ได้รับการติดตั้งระบบจ่ายน้ำมันแบบหัวฉีด PGM FI ส่งผลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในด้านการรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม
Honda Super Cub 50
50 ซีซี. 4 จังหวะ ระบายความร้อนด้วยอากาศ ระบบหัวฉีด PGM-FI
รถ ซูเปอร์ คับ ที่ได้รับการยอมรับจากผู้คนทั่วโลก และยังคงมีการผลิตและจำหน่ายอย่างต่อเนื่องตลอด 50 ปี
จากอดีตจนปัจจุบันใช้สะดวกกว่าเดิม ด้วยระบบหัวฉีด PGM-FI ที่สตาร์ทติดง่าย แต่ยังคงความอเนกประสงค์
ทนทาน และประหยัดน้ำมันได้เป็นอย่างดี
Honda Little Cub
50 ซีซี 4 จังหวะ ระบายความร้อนด้วยอากาศ ระบบหัวฉีด PGM-FI วงล้อขนาดเล็ก 14 นิ้ว
เลี้ยวง่าย คล่องตัว เบาะสูงกำลังดีขี่สบาย ดีไซน์แนวโมดิร์นคลาสสิก สมกับเป็นรถคับแห่งยุคปัจจุบัน

ประวัติ Honda Super CUP

สายการผลิตของ Honda Super CUP มีการแก้ไขและพัฒนาสายการผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีในด้านของการขับขี่ ทั้งในด้านของพลัง เครี่องยนต์และความประหยัดเชื้อเพลิง แต่สิ่งหนึ่งซึ่งไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็น ได้ชัดนั้นคือ รูป ลักษณ์ภายนอก ซึ่งยังคงรูปแบบเดิมอยู่จนกระทั่งปัจจุบัน ในด้านของการตลาดHonda Super CUP กลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือก สำหรับ ตลาดรถเอนกประสงค์หรือรถสกุตเตอร์ในเวลาอันรวดเร็ว จนคำว่า Honda Super CUP เกือบจะเป็นคำที่มีคำจำกัดความว่ารถ สกุตเตอร์ใช้ งานไปแล้วในตลาดรถสกุตเตอร์



Honda Super CUP มีการส่งออกไปแลกเปลี่ยนที่สหรัฐอเมริกา เป็นครั้งแรกในปี1959 และไม่นานนักก็มีการส่งออกไปซื้อขายใน 160 ประเทศ ทั่วโลกในเวลาภายหลัง มีการเปิดสายการผลิตใน ประเทศต่างๆขยายมากมายกว่า 14 ประเทศเพื่อต้องการขยายตลาดไปยังประเทศในแถบ south-East Asia ทั้งหมด the Super CUP กลายเป็นรถที่มีความเอนกประสงค์มากที่สุด และ เป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันสำหรับสายการผลิตแรกของรถจักรยาน ยนต์ ในตระกูล Super CUPคือโมเดล Honda c100 Super CUP 50 มีสายการผลิตอยู่ในช่วง 1959-1962 มีการผลิตเฉดสีออกจำหน่ายสู่ท้องตลาด ทั้งสิ้น 4 สีด้วยกัน คือ สีทรูโทนแดงสดตัดขาว, สีขาวล้วน, สีทูโทนน้ำเงินตัดขาวและสีทูโทนดำตัดขาว ที่ด้านหน้าของตัวรถและที่ฐานเบาะ จะมีโลโก้อักษรภาษาอังกฤษว่า “CUB”และ” Super CUP” เป็นสัญลักษณ์สำหรับรถรุ่นนี้ ที่ไฟท้ายจะมีลักษณะเป็นทับทิมสีแดง เครื่องยนต์กลไกมีขนาดความจุ 49 cc สูบเดียน 4 จังหวะ OHV ใช้ระบบขับเครื่อง โดยชุดเกียร์แบบสามสปีด และระบบครัทช์แบบ ออโตเมติก สำหรับระบบสตาร์ท ในรุ่นนี้มีการผลิตออกมาเฉพาะ ระบบสตาร์ทโดยเท้าเท่านั้น



สำหรับรถที่มีการกำเนิดออกมาในช่วงแรก ๆ นั้นจะสังเกตได้จากเบาะที่มีขนาดมากกว่า จักรยานยนต์ในสายการผลิตถัดมา คือ Honda CA100 มันคือรถโมเดลใหม่ที่มาแทนที่ใน รุ่น C100 มีสายการผลิตในช่วงปี 1962-1970 มีการผลิตเฉดสีออกจำหน่าย สู่ท้องตลาดทั้งสิ้นสี่สีด้วยกัน เช่นเดียวกับโมเดล C100 นั้นคือ สีทูโทนแดงสดตัดสีขาว ,สีขาวล้วน,สีทูโทนน้ำเงินตัดขาว และ สีทูโทน ดำตัดขาว เครื่องยนต์ยังคงเป็นแบบสี่จังหวะ ขนาดความจุ 49 cc สูบเดียว OHV ใช้ระบบขับเคลื่อนโดยชุดเกียร์แบบ สามสปีด และระบบ ครัทซ์แบบออโตเมติก เช่นเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลง และสำหรับระบบสตาร์ทในรุ่นนี้มีการผลิตออกมา เฉพาะ ระบบสตาร์ทด้วยเช่นกัน ที่ด้านหน้าของตัวรถและที่ฐานเบาะจะมี โลโก้อักษรภาษาอังกฤษว่า “Honda 50” เป็นสัญลักษณ์สำหรับ รถรุ่นนี้ ไฟท้ายมีการออกแบบ ให้มีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าโมเดลก่อนอย่างเห็นได้ชัด สายการผลิตของจักรยานยนต์ Super CUP 50 cc ไม่ได้มีการผลิตและจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นเพียงอย่างเดียวเท่านั้น และยังมีการส่งไปจำหน่ายอีกหลายประเทศทั่วโลก. ขอจบประวัติ Honda Super CUP เพียงเท่านี้

ประวัติ Honda Super CUP

ประวัติ Honda Super CUP ในยุคปัจจุบันมีบริษัทผู้ผลิตรถจักรยานยนต์มากมาย ซึ่งในบริษัทผู้ผลิตรถที่มีชื่อเสียงเหล่านั้น คงไม่มีใครที่ไม่รู้จักผลผลิตภายใต้ชื่อ ฮอนด้า แน่นอน ฮอนด้าเปิดสายการผลิตรถจักรยานยนต์ มาตั้งแต่สมัยเก่า มีการผลิตรถจักรยานยนต์ออกมามากมายหลายรุ่น ด้วย เทคโนโลยีที่ก้าวทันกระแสการแปรเปลี่ยนของโลกตลอดเวลา แต่มีรถจักรยานยนต์ โมเดลหนึ่งซึ่งทุกคนอาจมองข้ามไปนั้น คือการผลิตของรถโมเดล Super CUP นั่นเอง สายการผลิตของรถจักรยานยนต์ในโมเดลนี้ มีจำนวนทั้งสิ้นมากกว่า 35 ล้านคัน แล้วในปัจจุบันในช่วงปี 1959 – 1962 มีเปิดตัวสายการผลิต ครั้งแรกในรุ่น Honda c100 อย่างเป็นทางการ ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ปี2002 บริษัท Honda motor โมเดล Super CUP co.,Ltd มีการเช็คจำนวนผลิตภัณฑ์ ทั้งหมดสำหรับ อีกครั้ง พบว่าในช่วงเวลา 44 ปีที่ผ่านมา สายการผลิต ของรถโมเดลนี้มีจำนวนมากถึง 35 ล้านคันแล้วนับจากสาม เดือนแรกที่มีการ จัดจำหน่ายสู่ท้องตลาดอย่างเป็นทางการในปี 1958 สายการผลิตในช่วงแรกของ Super CUP นั้นมีการออกแบบ และพัฒนาขึ้นโดยตรงจากฝีมือของนาย Soichiro Honda ผู้บริหารระดับสูงหรือเจ้าของบริษัทฮอนด้านั่นเอง โดยได้แนว ความคิด ในการออกแบบรถจักรยานยนต์สายพันธ์ใหม่นี้มาจากการความเอนกประสงค์ ของรถสกุตเตอร์ที่ทุกคน ในสมัยนั้นต่าง ก็เชื่อถือในความสามารถรอบตัวของมัน เครื่องยนต์ของรถสกุตเตอร์ในสมัยนั้นแทบทั้งหมดจะเป็น เครื่องยนต์แบบสองจังหวะ แต่สำหรับฮอนด้าโมเดล the Super CUP แล้วมีการปรับปรุงรูปแบบใหม่ด้วยการใช้เครื่องกลแบบสี่จังหวะสมรรถภาพสูง 50ซีซี เข้ามาติดตั้งแทน ซึ่งเครื่องยนต์แบบนี้โดดเด่นมากกว่าของกำลังที่ ได้ความประหยัดเชื้อเพลิงที่สูงกว่า อีกทั้งยัง มีความทนทาน กว่าเครื่องยนต์สี่จังหวะ อย่างเห็นได้ชัด ในด้านของรูปลักษณ์ภายนอกมีการออกแบบให้ตัวรถ อยู่ในระดับต่ำเช่นเดียวกับ รถสกุต เตอร์แต่มีการออกแบบโครงสร้างตัวถังเป็นแบบ backbone frame แทน เพื่อให้ง่ายต่อการติดตั้งและ การถอดออกของ บังลม ด้านหน้า ซึ่งออกแบบมาเพื่อป้องกันโคลนสิ่งสกปรก และลม มาประทะขาของผู้ขับขี่ ที่สำคัญโครงสร้างตัวถังแบบนี้ยังเป็น วัตกรรม ใหม่ล่าสุดในสมัยนั้นอีกด้วย


วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555


Super cub ถือกำเนิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น ในปีค.ศ.1958 ตามแนวคิดการพัฒนาของโซอิชิโร ฮอนด้า (Soichiro Honda) โดย วิวัฒนาการมากจากรุ่น “Cub Type F” ในปีค.ศ.1952 ซึ่งเป็นการนำจักรยานทั่วไปมาติดเครื่องยนต์ในลักษณะตามรูป




Cub Type F

Super cub



Super cub รุ่นแรก ใช้ชื่อว่า รุ่น C100 เป็นเครื่องยนต์สูบนอน 49 ซีซี OHV 4 จังหวะ กำลังสูงสุด 4.3 แรงม้า ซึ่งในสมัยนั้น จัดว่าตอบสนองสมรรถนะได้สูงส่งมากทีเดียว นอกจากนี้ เครื่องยนต์ 4 จังหวะ ยังเป็นนวัตกรรมใหม่ล้ำยุคในสมัยนั้นอีกเช่นกัน


Super Cub C100 (The first generation model in Japan 1958)

เทคโนโลยี 4 จังหวะ หัวใจสำคัญของ Super cub

ใน ช่วงที่พัฒนารุ่นดังกล่าว เครื่องยนต์ 2 จังหวะ ได้รับความนิยมอย่างมาก แต่ด้วยวิสัยทัศน์ของผู้พัฒนา เช่น โซอิชิโร ฮอนด้า ได้เล็งเห็นถึงขีดจำกัดของเทคโนโลยีเครื่องยนต์ 2 จังหวะ แต่เห็นถึงประโยชน์ของ เทคโนโลยี 4 จังหวะ ที่สามารถพัฒนาให้ก้าวล้ำต่อไปได้อีก เช่น ให้มีอัตราการประหยัดน้ำมันที่มากขึ้น หรือ ลดระดับไอเสียให้น้อยลงเป็นต้น จึงฉีกแนวออกจากกระแสนิยม โดยใส่เทคโนโลยีเครื่องยนต์ 4 จังหวะลงไปใน Super cub ทำให้มีทั้งคุณสมบัติด้านความทนทาน ประหยัดน้ำมัน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และคงจะด้วยเหตุนี้เอง ที่ทำให้เครื่องยนต์ 4 จังหวะแพร่หลายเป็นอย่างมากในปัจจุบัน อีกทั้งยังทำให้ฮอนด้าซึ่งยืนหยัดพัฒนารถจักรยานยนต์ 4 จังหวะมาโดยตลอด ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำด้าน 4 จังหวะจนถึงปัจจุบัน